SpongeBob SquarePants

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน


ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
**********************************************
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
โครงสร้างของระบบ

                                                             ทรัพยากร                     ขบวนการ                            ผลที่ได้รับ
                                                            (In put)                          (Process)                            (Out put)
                                        

                                                                                  ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน

ระบบการสื่อสาร (Communication System)
                การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร

                                                                                                  จุดมุ่งหมาย

               
                                         ผู้ส่ง                        เนื้อหาข้อมูล                        สื่อ/วิธีการต่างๆ                   ผู้รับ
                                                                                             
                                                                                              การตอบสนอง




การสื่อสารกับการเรียนการสอน
                พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.            กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2.            การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.            ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4.            การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
                                           



การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร ?การสื่อสาร  คือ  กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง  การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

            5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า  การศึกษา  เราหมายความถึงทั้ง การเรียน  การสอน  ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่  พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น  การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า  การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน  คือ  การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ  แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก  ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ  ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ จากอินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด  หรือหนังสือต่างๆ  ได้....วัสสลาม


เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
โลกปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล เปรียบเสมือนโลกเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งที่คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงภายในพริบตา เทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องทราบถึงโทรคมนาคมเพื่อนำมาใช่ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางไกลที่ต้องใช้เทคโนโลยีและระบบการสื่อสารโทรคมนาคมช่วยในการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ


ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา


เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษาโดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน...
ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน


การสื่อสารในห้องเรียน
ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้
การสื่อสารในการศึกษาทางไกล การศึกษาทางกลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน เป็นต้น
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว


เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ของวิชา ส่งการบ้านหรือถามคำถามทางอีเมลไปยังผู้สอนสอน หรือติดคำถามบนเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนล็อกออนเข้าเข้าเรียนในเวลาที่ผู้สอนกำหนด ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทันที หรืออาจเป็นการเรียนแต่มีการนัดหมายเวลาเพื่อสนทนาสดด้วยเสียงแบบเห็นหน้ากันหรือพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้


 องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
                                         
                                       


3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น


องค์ประกอบของการสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นการสื่อสารระยะไกลที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ ตัวส่งผ่านหรือพาหะ ช่องทางโทรคมนาคม และอุปกรณ์สื่อสาร
- ตัวส่งผ่านและพาหะ
เพื่อนำข่าวสารไปถึงกันโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น คลื่นพาห์ช่วยนำสัญญาณไฟฟ้าแพร่กระจายไปไนบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
- ช่องทางโทรคมนาคม
ช่องทางโทรคมนาคม หมายถึง ทาง หรือตัวกลางสื่อสัญญาณ ที่ข้อมูลสารสนเทศใช้เดินทางเพื่อการสื่อสารในระบบโทรคมนาคมจากแหล่งส่งไปยังจุดรับ โดยช่องทางนี้จะเป็นตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ หรือตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายก็ได้


- อุปกรณ์สื่อสาร
อุปกรณ์สื่อสาร หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างจุดส่งและจุดรับ โดยที่แต่ละจุดจะต้องมีเครื่องมือสื่อสารซึ่งมีทั้งเครื่องรับอยู่ภายในเครื่องเดียวกัน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
พื้นฐานของช่องทางโทรคมนาคม-ทั้งด้วยการใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพหรือแบบไร้สายก็ตาม จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์ คลื่นเรดาร์ หรือการเปิดปิดประตูหน้าบ้านด้วยรีโมตคอนโทรล เหล่านี้เรียกว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งสิ้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ประกอบด้วยสนามพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็กซึ่งเดินทางเป็นคลื่น ท่ามกลางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณในการสื่อสารคลื่นแบบต่างๆ ที่ใช้สื่อสารจะมีความแตกต่างกันแล้วแต่ความถี่ นับตั้งแต่พิสัยของคลื่นวิทยุจากคลื่นความถี่ต่ำ พิสัยของความถี่เหล่านี้เรียกว่า แถบความถี่ หรือเรียกทัพศัพท์ว่า แบนด์วิดท์ แบนด์วิดท์ในการส่งสัญญาณอนาล็อกจะเรียกเป็น เฮิตซ์ หรือรอบต่อวินาที หากเป็นการส่งสัญญาณแบบดิจิทอัลเรียกเป็น บิทต่อวินาที
แบนด์วิดท์ จะมีความแตกต่างกันระหว่างความถี่สูงกับความถี่ต่ำในการส่ง
ยิ่งแบนด์วิดท์มากเท่าไหร่จะช่วยส่งข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น และหากใช้แบนด์วิดท์แคบจะทำให้สูญเสียพลังในการส่งมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องชดเชิญการสูญเสียพลังด้วยการใช้การหน่วงหรือการทวนสัญญาณเพื่อทำซ้ำสัญญาณเดิม แบนด์วิดท์จะระบุกันด้วยความเร็วหรือการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ย่อมต้องใช้แบนด์วิดท์กว้างที่เรียกว่า บรอดแบนด์ ที่ส่งผ่านข้อมูลได้ตั้งแต่ 1.544-55เมกกะบิตต่อวินาที
ตัวกลางสื่อสัญญาณ ในการส่งผ่านซึ่งเป็นวัสดุเทคนิควิธีการที่ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ ตัวกลางสื่อสัญญาณมี 2 ลักษณะ คือ ตัวกลางที่เป็นสื่อทางกายภาพ และสื่อไร้สาย



ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ
เป็นการใช้สายเคเบิลและวัสดุอื่นๆ ในการส่งสัญญาณ ตัวกลางสื่อสัญญาณที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ สายโทรศัพท์ซึ่งทำด้วยรวดทองแดง แต่ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุอื่นที่ส่งสัญญาณผ่านได้เร็วขึ้น ได้แก่

สายเคเบิลคู่ไขว้
สายเคเบิลคู่ไขว้ เป็นสายที่ใช้กันทั่วไปในเครือค่ายและระบบโทรศัพท์ สายรวดพวกนี้ประกอบด้วยทองแดง2เส้น ไขว้พันกันเหมือนหางเปียแต่ละคู่อาจมีคู่เดียวหรือหลายคู่ก็ได้ สายนี้มีความเร็วในการส่ง 1-128 เมกะบิตต่อวินาที
สายเคเบิลร่วมแกน มักเรียกกันย่อๆว่า สายแอ็กซ์ ประกอบด้วยลวดทองแดงเดี่ยวเป็นแกนเดี่ยวเป็นแกนตัวนำและพันรอบด้วยวัสดุ3ชั้น คือ วัสดุกันฉนวน ลวดทองแดงมัดพันเกลียวกันตั้งแต่2ชั้น และปลอกพลาสติกหุ้มลวด มีความเร็วในการส่งสัญญาณได้สูงถึง 200 เมกะบิทต่อวินาที
สายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง
สายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง มีความเร็วในการส่งตั้งแต่ 100 เมกะบิตถึง 204 จิกะบิตต่อวินาที
มีข้อได้เปรียบกว่าสายเคเบิล คือ
มีความสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก และส่งได้มากกว่า รวดเร็ว และไกลกว่า
ป้องกันการลบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
มีขนาดเล็กและเบากว่า
ไม่เป็นสนิม
ติดตั้งง่ายเข้าได้ทุกที่
วัตถุดิบในการผลิตมีอยู่มากในธรรมชาติ
มีข้อจำกัดคือ
มีความเปราะ แตกหักง่ายกว่าสายโลหะธรรมดา
ต้องมีการเชื่อมที่มีความถูกต้องแน่นอน
ยากต่อการแยกสัญญาณ
ใช้ส่งกำลังงานไฟฟ้าสำหรับเลี้ยงระบบต่างๆไม่ได้



ISDN Lines
ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network แปลว่า โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล สามารถส่งสัญญาณจากการสื่อสารระบบต่างๆ เช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียว สายเคเบิลใต้น้ำ ไมโครเวฟ มีความเร็วในการส่ง 128กิโลบิตต่อวินาที ด้วยสมรรถนพของ ISDN 1 สามารถพ่วงได้ครั้งละ 8 สัญญาณ
Digital Subscriber Line
DSL เป็นสายในการส่งผ่านสัญญาณดิจิทัลที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าการใช้สายเคเบิลทองแดงธรรมดา DSL ได้รับความนิยมมากในการให้บริการอินเตอเน็ตความเร็วสูง ได้แก่
• Digital Subscriber Line (ADSL) มีการรับสัญญาณได้เร็วกว่าการส่ง ความเร็วในการรับตั้งแต่ 1.54-8.45 เมกะบิต/วินาที และควาเร็วในการส่ง 128 กิโลบิตถึง 1 เมกะบิต/วินาที
• Very Hight Speed Digital Subscriber Line มีความไวในการส่ง 13-55 เมกะบิต/วินาที ในระยะทางสั้นๆ ระหว่าง 300-1500เมตร โดยต่อโฒเด็ม VDSL เข้ากับคู่สายทองแดงที่ใช้บริการสายโทรศัพท์ปรกติเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้ด้วยอัตราความเร็วสูงมาก รวมทั้งการให้การบริการหลายรูปแบบ เช่น video on demandได้พร้อมกันหลายช่อง
T-Carrier Lines
T-Carrier Lines เป็นสายดิจิทัลที่นำพาสัญญาณหลายๆ สัญญาณได้โดยการใช้สายสื่อสานเพียงเส้นเดียว T-Carrier Lines จะใช้เทคนิคการรวมสัญญาณร่วมสื่อเพื่อให้หลายๆสัญญาณนั้นสามารถใช้สายโทรศัพท์สายเดียวร่วมกันได้ ที่นิยมใช้กันมากคือ T-1 Linesสามารถนำพา 24 สัญญาณแยกกันด้วยอัตราความเร็ว 64 กิโลบิต/วินาที และ T-3 มีสมรรถนะเป็น 28 เท่าของT-1 Lines โดยสามารถนำพา 674 สัญญาณแยกกันด้วยอัตราความเร็ว 64 กิลโลบิต/วินาที



ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สาย
Wireless (ไร้สาย) เป็นคำที่ใช้เพื่อกล่าวถึงการสื่อสารโทรคมนาคมที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านำพาสัญญาณไปในช่องทางสื่อสาร เครื่องส่งสัญญาณในยุคแรกเริ่มต้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20
เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อความไปยังเครื่องรับต่างๆ ในปัจจุบันการส่งสัญญาณไร้สายไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไร้สายนานาประเภท ที่พบทั่วได้แก่ โทรศัพท์เซลลูล์ โ?รศัพท์พื้นฐานในบ้าน เคื่องติดตามตัว เมาส์ คีย์บอร์ด แลนไร้สาย เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารไร้สายมีอยู่มากมายเช่นกัน เช่นGSM GPRS UMTS IR เหล่านี้เป็นต้น ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายที่ใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
คลื่นวิทยุแบบแพร่สัญญาณ
เป็นสื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณไร้สายที่ใช้สัญญาณวิทยุแพร่ไปในอากาศในระยะไกลระหว่างเมืองและประเทศต่างๆ ปกติแล้วการแพร่สัญญาณลักษณะนี้จะเป็นการส่งสัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับวิทยุในระบบ AMและFM แต่ระบบองค์กรหรือบริษัทบางแห่งจะใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารเคลื่อนที่ใช้ในเครือข่ายของตน โดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และPDA ซึ่งจะมีเสาอากาศในตัวที่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายนั้นได้ คลื่นวิทยุจะมีความเร็วในการส่งถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที การสื่อสารไร้สายจะใช้เกณฑ์วิธีการสื่อสารเรียกว่า WAP อันเป็นข้อกำหนดคุณลักษณะเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทันทีผ่านทางอุปกรณ์ไร้สายขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ เครื่องติดตามตัว วิทยุสื่อสารสองทาง และคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กประเภท PDA และ Tablet Pc มาตรฐานหนึ่งที่นิยมใช้กันขณะนี้ได้แก่ Bluetooth ซึ่งประกาศใช้เป็นครั้งแรกโดยบริษัทอีริกสันในปี พ.ศ. 2541 โดยใช้คลื่นวิทยุในการควบคุมการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในการสื่อสารในระยะ 10 เมตร นอกจากBluetooth แล้วในปัจจุบันมีมาตรฐาน Wi-fi ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของชุดมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 ที่กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้สร้างเครือข่ายเฉพาะที่ไร้สาย
(WLAN) โดยใช้วิทยุความถี่ UHF Wi-fiเป็นเครือข่ายเปิดที่ ใช้งานได้ฟรี และมีหลายมาตรฐานเหมาะกับการใช้งานลักษะต่างๆ และในปี พ.ศ.2548 ได้มีมาตรฐาน Wimax เพิ่มขึ้นอีกมาตรฐานหนึ่งด้วยความสามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงสุด 75 เมกกะบิต/วินาทีในช่วงความถี่ 2-66 จิกะเฮิรตซ์ พื้นที่ในเขตบริการ Wi-fi เรียกว่า hot spot ผู้ใช้คอมพิวเตอโน๊ตบุ๊ก PDA เชื่ออมต่อด้วยโมเด็มกว่า 100 เท่า การใช้ “Wi-fi จะมีควาเร็วมากน้อยขึ้นอยู่กับสมรรถนะความเร็วของอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ข่ายการสื่อสารข้อมูล 
                หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
1.             หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.             ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.             หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ

เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
การสื่อสารกับการเรียนการสอน




การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
             สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
               สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


1. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
          อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
         1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
                 3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
       3. ปัญหาการสื่อสาร
          ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้



บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน

ปจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การสอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง